วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

แนวทางโปรเจคของ BSD

เมื่อวานในคลาส OO อ.อัษได้มอบ Assignment 3-1 คือให้ไปดูการนำเสนอโครงการพิเศษ ของ IT in Business ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม 2550 นี้ ที่ อาคาร 50 ปี ชั้น 6 เวลา 9.00-16.00 น. โดยให้ดูตามที่ อ.อัษ ได้ให้แนวทางว่าให้ไปฟังโครงการที่พัฒนาเกี่ยวกับ พวก .NET ทั้งหลาย โดยเลือกสรุปมา 3 โครงการที่สนใจ สรุปอย่างไรแล้วแต่

อาจารย์ได้พูดถึงเกี่ยวกับหลักสูตรของเราว่า " ถ้าคุณเลือกทำโปรเจคแบบ IT คุณอาจจะไม่จบสำหรับ BSD เพราะว่าทางไอที เน้นว่าทำระบบไอทีอะไรมาก็ได้ แต่สำหรับ BSD เน้นที่ กระบวนการ จัดทำ ซอฟต์แวร์ และต้องเป็น ซอฟต์แวร์ทางด้านธุรกิจด้วย" อาจารย์ย้ำว่า ดูที่กระบวนการ

ได้มีโอกาสลงลิฟต์มาพร้อมอาจารย์ ตอนกลับก็ได้ถามย้ำอาจารย์อีกครั้งว่า "โครงการของ BSD เป็นลักษณะแนว Software Engineering ใช่ไหม?" อาจารย์บอกว่า "ใช่ค่ะประมาณนั้น แต่ว่าซอฟต์แวร์ ต้องเป็นซอฟต์แวร์ธุรกิจด้วย"

จึงเอามาฝากไว้ย้ำเตือนเวลาทำโปรเจค

วิศวกรรมซอฟต์แวร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software engineering) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ คือการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ, การตั้งเป้าหมายของระบบ, การออกแบบ, กระบวนการพัฒนา, การตรวจสอบ, การประเมินผล, การติดตามโครงการ, การประเมินต้นทุน, การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารจัดการโครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้


http://en.wikipedia.org/wiki/Software_engineering

ไม่มีความคิดเห็น: