วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

Master Project รุ่นเราเอาไง?

วันนี้ได้มีโอกาสมาช่วยน้องๆ ในงาน Open House และได้พบกับ อ.สม และ อ.ถาวร ด้วยมองหน้ากันแล้วก็ต้องยิ้มๆ เพราะคงหนีไม่พ้นเรื่อง Master Project ที่อาจารย์จะถามไถ่อยู่เสมอ เราคงเห็นแล้วว่ารุ่นพี่เรา ที่เป็นรุ่น 1 ปีนี้จบเพิ่มได้อีก 4 คน หลังจากปีที่แล้วจบไปแล้ว 8 คน รวมเป็น 12 คน ก็เกือบครึ่งห้องแล้ว และทุกคนได้หัวข้อกันหมดแล้วคือ Special Project I ส่วนใหญ่จะผ่านกันแล้ว คงเหลือแต่การ Implement ใน Special Project II แต่สำหรับรุ่นเราแล้วมีเพียง อิม คนเดียวที่ผ่าน Special Project I ซึ่งเทียบกับอัตราของรุ่น 1 แล้วถือว่ารุ่นเรา Start ได้ช้ามาก อาจารย์จึงฝากความห่วงใยมายังเราทุกๆ คนว่าให้ช่วยเร่งทำ Master Project ได้แล้ว เท่าที่ทราบมาขณะนี้ รุ่นเรา ไม่มีใครทำกับ อ.ถาวร เลย เพราะพี่ชาย เหมือนจะย้ายไปทำกับ อ.สมจารี และมีอีกหลายคนจะเบนเข็มไปทำกับ อ.สม ด้วยเท่าที่นับตอนนี้มีประมาณ 15 คน ถ้ารวมพี่ชายด้วย

อ.สม => พี่นุ พี่ก็อป พี่ชาย พี่แบด อ๊อค กู้ แก้ว เดียร์ เจิน เบิร์ด ป๊อป กิ๊ป เม้ง ไท แนน
อ.จันทร์เจ้า => โจ้ บัว (หรือเปล่า) พี่หนุ่ย ตัน พี่ศักดิ์
อ.พิมพ์มณี => ญิ๋ง
อ.อัษ => อั๋น
อ.ชัช => อิม

ส่วนเพื่อนๆ ที่ไม่ได้หัวข้อ ขอให้พยายามเข้าหาอาจารย์ด้วย และสำหรับคนที่ได้หัวข้อไปแล้ว อาจารย์สมบอกว่าให้รีบคิด อัลกอรึธึมด้วย

ปัญหาส่วนใหญ่คือ บางคนงานเยอะ และหายตัวไปเลย และไม่กล้าไปพบอาจารย์บ้าง ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่ว่าเราควรที่จะได้รวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการกระตุ้นและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนแนวคิดกันเหมือนตอนที่ทำ Assignment เรามีเวลาเท่าเดิม แต่เราก็ยังมาทำกันจนเสร็จได้ ซึ่งแนวคิดนี้ขอยกเครดิตให้กับทางพี่ก็อป ที่ได้เสนอมายังพี่นุครับ

ที่อยากให้มีการรวมกลุ่มกันโดยแบ่งเป็น กลุ่มตามอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะอาจารย์แต่ละท่านก็มีแนวทางของท่าน ถ้า tune ได้ว่าอาจารย์ต้องการอะไร แนวไหน ก็น่าจะทำให้โปรเจคของแต่ละคนในกลุ่มมีความก้าวหน้าได้

สำหรับกลุ่มที่ทำโปรเจคกับ อ.สม พี่ยินดีจะช่วยประสานงานให้ โดยมีแนวทางดังนี้

1. มี commitment ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม SJ Projects (Somjaree's Projects)

2. มีกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันในวัน เสาร์ และ อาทิตย์ หรือตอนเย็น วันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยจะแจ้งให้ทราบเป็นสัปดาห์ต่อสัปดาห์

3. กำหนดให้มีการเขียนรายงานความก้าวหน้า (หรือไม่ก้าวหน้า) โดยหลังจากที่เข้าพบอาจารย์ สำเนาส่งเพื่อนๆ ในกลุ่ม และใช้เป็นเครื่องมือในการเตรียมการแก้ไข อ้างอิง และยืนยันในสิ่งทีได้พูดคุย เพื่อการเข้าพบครั้งต่อไปจะได้ตรงประเด็น

4. แจ้งกลุ่มให้ทราบถึงกำหนดนัดหมายเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้ทราบตารางเวลา และมีการแบ่งปันจัดสรรเวลาในการเข้าพบอาจารย์ได้ (จะได้ไม่รอกันนาน และแบ่งปันเวลาให้เพื่อนคนอื่นๆ บ้าง คนที่ไม่เข้าพบเลยอาจจะถูกเพื่อนๆ เพ่งเล็ง และคอยกระตุ้นกันและกัน)

5. มีการช่วยกันดู ช่วยกันคิด ตามความถนัด เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายไปพร้อมๆ กัน (เพื่อจะได้มีหลายมุมมอง ไม่ใช่แค่มาเจอกัน แล้วก็คุยกัน ชวนไปกิน แล้วกลับบ้าน แต่ใครถนัดสิ่งไหนก็ช่วยกันดูสิ่งนั้น เช่นถนัดทำเอกสาร ก็ช่วย proof เอกสาร ถนัดออกแบบก็ช่วยเขียน Flow ถนัดโปรแกรม ก็ช่วยแนะนำในเชิงเทคนิคเป็นต้น)

เข้าใจว่าบางคนอาจจะชอบทำโปรเจคคนเดียวก็ไม่ว่ากัน แต่พี่ก็เชื่อว่าการทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้นในสภาพการทำงานปัจจุบัน แม้เรื่องบางเรื่องจะเบ็ดเสร็จได้เพียงเราคนเดียว แต่ไม่มีใครถนัดอะไรไปเสียทุกเรื่อง การเปิดใจรับฟังอาจจะทำให้เราได้เห็นมุมมองแปลกๆ ส่วนการจะทำตามหรือไม่นั้นก็เป็นดุลยพินิจของเราเองอยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรเสียหาย และอย่าไปกลัวว่าจะทำอะไรล่าช้ากว่าคนอื่นๆ ตามคนอื่นไม่ทัน โปรเจคไม่เหมือนกัน จะเปรียบเทียบหรือแข่งอะไรกันมันทำไม่ได้อยู่แล้ว จะแข่งกันจบก่อนหลังพี่คิดว่าคงไม่มีนะครับ เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะคิดในมุมแคบๆ แค่นั้น เพราะยังไงจุดมุ่งหมายของเราคือจบเหมือนๆ กันเน๊อะ

ตัวอย่างรุ่น 1

พี่ซ้ง นัท มะปราง โอ๋ และเพื่อนๆ ในรุ่นจำนวนหนึ่ง จะนัดกันมาทำทุกวันเสาร์ครึ่งวัน โดยพี่ซ้ง ไม่ถนัดเขียนโปรแกรมมากนัก ก็ได้มะปรางช่วยในส่วนของ implement ส่วน proposal ก็ช่วยกันคิดช่วยกันปรับ ซึ่ง ทั้งมะปราง โอ๋ และ นัท ก็เป็น 3 ใน 4 ของมหาบัณฑิตที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีนี้

ขนาดเขา active กันขนาดนี้ยังสามปีเลย รุ่นเราเฉื่อยมาก เมื่อเทียบกับรุ่น 1 ในเรื่องการเรียนนะครับ แต่ไม่มีอะไรที่ห้องเรารวมกันแล้วทำไม่ได้นี่หว่า จริงปะ

นัดหมาย กลุ่ม SJ
สำหรับกลุ่มทำโปรเจค อ.สม พี่ขอนัดเจอกัน

ครั้งที่ 1 ในวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน นี้ ที่ใต้ตึก มหิตฯ เวลา 10.00 น.

เพื่อมาวางแผนของกลุ่ม กำหนดแนวทาง และกติกา รวมถึงปัญหาของแต่ละคน ถ้าใครมาไม่ได้ก็ให้เมล์มาลงชื่อไว้ก่อนนะครับ จะได้ add ชื่อไว้

กฎเหล็ก: ห้ามขาดกิจกรรมเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่แจ้งนะครับ (ตัดออกเลย)

วันจันทร์ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

2nd BSD Traditional Bowling Cup



ต่อยอดความสนุกสนานมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว สำหรับกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เพื่อนพ้องพี่น้อง BSD จุฬา กับเกมกีฬายอดฮิตอย่าง "โบว์ลิ่ง" ที่แม้ว่าจะไม่เคยเล่นมาก่อนในชีวิต ได้ลองโยนสักครั้งสองครั้งก็เล่นได้ทันที


กิจกรรมนี้ จัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลักคือ เสริมสร้างความ "สมานฉันท์" กลมเกลียวกัน โดยไม่ต้องรอให้ ศอฉ.ออกมาตรการใดๆ มีครูอาจารย์ มีรุ่นพี่ มีรุ่นน้อง มีความสนิทสนมกัน เป็น BSD ที่อบอุ่น มากกว่าจะเป็นแค่หลักสูตร ป.โท ที่มาเรียนๆๆๆ แล้วก็จบกันไป


ดังนั้น!


การจัดแข่งขันโบว์ลิ่งประเพณีครั้งนี้ (และครั้งไหนๆ ก็ตาม) จะไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นภาคนอกเวลาเท่านั้น อย่างที่บอกไปแล้วว่าเราต้องการความ "สมานฉันท์" ไม่แบ่งแยกสี ..เอ้อ ..ไม่แบ่งแยกว่าอยู่ภาคไหน รวมถึงไม่แบ่งแยกว่าคุณจะจบไปเป็นมหาบัณฑิตแล้วหรือไม่อีกด้วย


งานนี้สนุกสนาน เฮฮา ปาร์ตี้ แน่นอน!!!


"เล่นโบว์ลิ่งต้องทำให้พินล้ม เธอเหมือนลูกไง วิ่งมาทีไร ชนใจฉันโครมทุกที ฮิ๊ววว"




อยากร่วมแข่งด้วย ต้องทำอย่างไรบ้าง?


การแข่งขันในปีนี้ เราจัดเป็นแบบทีม ทีมละ 3 คน ไม่จำกัดจำนวนทีมและรุ่น ขอให้ใน 1 ทีมมีครบ 3 คนเป็นพอ
ส่วนค่าสมัคร ทีมละ 1,300 บาท ครับ...


...ทำไมแพงกว่าปีที่แล้วล่ะ?


ยอมรับครับว่าปีนี้เก็บแพงกว่าปีที่แล้วจริงๆ แต่ก็ต้องแจ้งให้ทราบจริงๆ เช่นกันว่า สาเหตุมาจากทาง Blu-O คิดราคาค่าเกมส์แพงขึ้นกว่าปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ทางผู้จัดงานได้ตัดสินใจ เพิ่มรางวัลให้มากขึ้นกว่าปีที่แล้วเช่นกัน!! ซึ่งรางวัลชนะเลิศคือ ถ้วยประเพณี ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของชาวเรา


รางวัลประเภททีม


รางวัลชนะเลิศ - ถ้วยประเพณี เงินรางวัล และใบประกาศ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 - ถ้วยเกียรติยศ พร้อมใบประกาศ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 - ถ้วยเกียรติยศ พร้อมใบประกาศ
รางวัลบู้บี้ 1 รางวัล - ยังไม่บอก อิอิ
รางวัลบ๊วย 1 รางวัล - ยังไม่บอก อิอิ


รางวัลประเภทบุคคล


High score (คะแนนรวมสูงสุด) - ยังไม่บอก อิอิ
The four bagger (สไตรค์ติดกัน 4 ครั้ง...) - ยังไม่บอก อิอิ
พนักงานล้างท่อดีเด่น - ยังไม่บอก อิอิ
ขวัญใจช่างภาพ (ท่าสวย) - ยังไม่บอก อิอิ




สิ่งที่ผู้แข่งขันต้องเตรียมมาให้พร้อมในวันแข่งขัน
- ชื่อทีม พร้อมสโลแกน คำขวัญ ปลุกใจ ข่มคู่ต่อสู้ โชว์เกรียน ฯลฯ สั้นๆ พอให้คู่แข่งเกรงกลัว
- ถุงเท้า ให้พกมาเองจะได้ไม่ต้องซื้อ
- ค่าเช่ารองเท้า คู่ละ 30 บาท เตรียมเงินมาให้พอนะครับ ^ ^




อย่าลืมนะครับ วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 เรามีนัดกันที่ Blu-O Bowling ชั้น 5 Siam Paragon เวลา 10.00 - 13.00 น.




กำหนดการคร่าวๆ
10.00 ลงทะเบียนผู้เข้าแข่งขัน
10.45 ทำพิธีเปิด ชี้แจงกฏกติกาการแข่งขัน
11.00 เริ่มแข่ง อุ่นเครื่อง 1 เกม แข่งจริง 2 เกม (บริการ Soft Drink ตลอดงาน)
12.30 ประกาศรางวัล
13.00 ปิดงาน


แล้วเจอกัน !!
bsd3ex@gmail.com

วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓

กิจกรรมแนะนำหลักสูตร BSD Open House ครั้งที่ 4

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ
(Business Software Development)
ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความยินดีเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน Open House ครั้งที่ 4


วัน: วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553
เวลา: 9:00-12.00 น.
สถานที่: IT Studio ชั้น 9 อาคารมหิตลาธิเบศร คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แผนที่ :: สำรองที่นั่ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ภาควิชาสถิติ โทร 022185650-1
http://bsd.acc.chula.ac.th

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ



ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในสาขาเทคโนโลยี สารสนเทศและคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทาง ธุรกิจ ภาควิชาสถิติได้เล็งเห็นความสำคัญ และความจำเป็นในการสนับสนุน การผลิตบุคลากรในสาขา การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ จึงเสนอหลักสูตรนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศในด้านนี้

ภาควิชาสถิติตระหนักถึงความขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ประกอบกับภาควิชาสถิติ มีศักยภาพและความพร้อมในการผลิตบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ จึงเปิดสอนหลักสูตรขึ้น ในปี พ.ศ.2546 สำหรับภาคปกติที่มีการเรียนการสอนในเวลาราชการ เมื่อเปิดหลักสูตร ภาคปกติได้ 3 รุ่น ภาควิชาสถิติได้เปิดภาคนอกเวลาราชการ ซึ่งมีการเรียนการสอนในช่วงเย็นของวันธรรมดาและ วันเสาร์ ขึ้นในปี พ.ศ.2549

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ โดยเน้นเทคโนโลยี เชิงวัตถุ

ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คาดหวังว่าบัณฑิตของหลักสูตรฯ จะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและช่วยให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถมีกระบวนการ
พัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นมาตราฐาน รวมทั้งสามารถสร้างงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาวิชากา ด้าน การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ